สานเส้นอย่างไรให้ปังเว่อ! กับเทคนิคการสานเส้นเบื้องต้น! (ตอนที่ 2)
สวัสดีครับเพื่อนๆชาว Manga Course Party ทุกๆคน ทิ้งระยะห่างไปพอสมควรเลยหลังจากที่เราได้พูดถึงหัวข้อ สานเส้นอย่างไรให้ปังเว่อ! กับเทคนิคการสานเส้นเบื้องต้น! (ตอนที่ 1) ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่เราจะกลับมาพบกันกับตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายของบทความเรื่องนี้ครับ
ก่อนอื่นเรามาเท้าความเดิมเกี่ยวกับในตอนที่แล้วกันสักเล็กน้อย
สานเส้น 1 ชั้น
- สานเส้น 1 ชั้น คือการสานเส้นไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยช่องไฟระหว่างเส้นแต่ละเส้นที่เท่ากัน
- เทคนิคการสานเส้น 1 ชั้น ลงบนพื้นที่กว้างๆ จะใช้วิธีการสานเส้นเป็นกลุ่มเล็กๆวางเรียงต่อๆกันจนเต็มพื้นที่ แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ วางกลุ่มก้อนการสานเส้นทุกก้อนไปในองศาเดียวกัน และการวางกลุ่มก้อนการสานเส้นในแต่ละก้อนไปคนละองศากัน
สานเส้น 2 ชั้น
- สานเส้น 2 ชั้น คือการสานเส้นชั้นที่สองทับลงบนการสานเส้นชั้นแรกลงไป โดยยังคงใช้ช่องไฟระหว่างเส้นที่มีระยะห่างเท่าๆกัน แต่ใช้องศาในการสานเส้นขัดทับต่างออกไปจากทิศทางของการสานเส้นชั้นแรก
- องศาของการสานเส้นชั้นที่ 2 จะมีผลต่อลักษณะงาน นั่นก็คือหากเรายิ่งใช้องศาขัดทับมากเท่าใด ก็จะยิ่งได้ลักษณะงานสานเส้นที่ดูแข็ง หยาบ และมีมีtextureมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
-เทคนิคการสานเส้น 2 ชั้น ลงบนพื้นที่กว้างๆ ยังคงใช้เทคนิคเดียวกับการสานเส้น 1 ชั้นทุกประการ
สาเหตุที่เราต้องทำการทบทวนการสานเส้น 1 - 2 ชั้นให้ดีเสียก่อน เพราะบทความนี้จะพูดถึงการสานเส้นในชั้นที่ 3 - 4 ที่ยังต้องใช้พื้นฐานความแม่นยำจากการสานเส้น 1 - 2 ชั้นเป็นอย่างมากครับ และก่อนที่จะไปยังเทคนิคการสานเส้นชั้นที่ 3 - 4 นั้น เรายังมีเทคนิคเพิ่มเติมมาฝากกันด้วยครับ
เทคนิคการFadeเส้น
การFadeเส้น คือการไล่น้ำหนักให้แก่กลุ่มก้อนการสานเส้นที่เราทำการสานลงไปในพื้นที่ที่ต้องการ โดยมีการไล่น้ำหนักความเข้มของกลุ่มก้อนการสานเส้นจากน้ำหนักเข้มไปหาน้ำหนักอ่อนได้ (เปรียบเทียบก็เหมือนการไล่น้ำหนักเข้ม - อ่อน ของงานวาดแส้นแรเงาด้วยดินสอครับ)
วิธีง่ายๆสำหรับการFadeเส้นเลยก็คือ ในช่วงปลายกลุ่มก้อนการสานเส้นที่เราต้องการจะลงน้ำหนักการสานให้จางลง เราจะใช้วิธีการ "ลดความยาวเส้น" ในแต่ละกลุ่มก้อนให้สั้นลง รวมถึงใช้ช่องไฟ "ทั้งระหว่างเส้นและระหว่างก้อน" ให้มีความห่างมากกว่าเดิมเล็กน้อย เมื่อนำทั้งสองวิธีมารวมกันในจังหวะที่เราจะทำการไล่น้ำหนักแล้ว ก็จะได้งานการสานเส้นที่มีลักษณะFadeที่ดูมีน้ำหนักงานที่ฟุ้งและเบาลงได้ครับ และสามารถนำไปใช้กับงานการสานเส้นกี่ชั้นก็ได้เช่นกัน
หลังจากเราได้เทคนิคการFadeเส้นแล้ว จากนี้ไปเราจะลองเอามาใช้ร่วมกับตัวอย่างงานสานเส้นในบทความนี้ด้วยละกันครับ
สานเส้น 3 - 4 ชั้น
การสานเส้นสามชั้น จะเป็นการต่อยอดจากการสานเส้น 2 ชั้นอีกทีหนึ่ง หรือก็คือการใช้เส้นชั้นที่ 3 สานทับลงไปบน 2 ชั้นแรกนั่นเอง ซึ่งโดยหลักๆแล้วยังคงใช้เทคนิค วิธีการ รวมถึงทฤษฎีเรื่ององศาการใช้เส้นขัดเหมือนเดิมทุกประการ
แต่จากภาพตัวอย่างด้านบนซึ่งเป็นการใช้องศาการขัดเส้นน้อยๆ จะเห็นว่าช่องไฟบนพื้นที่งานก็มีน้อยลงไปด้วยเช่นกัน ทำให้ภาพดูอึดอัดแน่นตามากขึ้น ข้อควรแนะนำคือในพื้นที่ที่เราชี้เฉพาะเจาะจงเลยว่าจะทำการสานเส้นมากกว่า 2 ชั้นขึ้นไป ให้พยายามใช้เส้นขัดที่มีองศามากๆเข้าไว้ จะได้เห็นตารางช่องไฟที่กว้างขึ้น ทำให้งานดูสบายตาขึ้น ดั่งเช่นภาพตัวอย่างการสานเส้น 3 ชั้นด้านล่างนี้ครับ
จะเห็นได้ว่านอกจากจะยังคงมีช่องไฟระหว่างเส้นที่สานทับกันลงไปหลายๆชั้นที่ช่วยทำให้ดูสบายตาขึ้นแล้ว ยังช่วยให้งานดูมีระเบียบเรียบร้อยขึ้นอีกด้วยครับ
และตามด้วยการสานเส้น 4 ชั้นครับ ซึ่งยังคงใช้เทคนิคการสานเส้นเหมือน 1 - 3 ชั้นทุกประการ แต่จะมีเงื่อนไขเล็กๆน้อยๆเหมือนการสานเส้น 3 ชั้น ตรงที่หากใช้องศาในการขัดเส้นที่น้อยเกินไปก็จะทำให้งานดูแน่น ดูอึดอัดมากๆเช่นกัน เลยแนะนำให้ใช้การสานเส้นขัดมากๆ ตามภาพตัวอย่างข้างล่างนี้ครับ
แต่ข้อควรระวังสำหรับการสานเส้น 3 - 4 ชั้นนั้น คือการคอยดูว่าทิศทางที่เราจะสานลงไปในชั้นหลังๆควรจะเป็นทิศทางไหน องศาเท่าไรดี เนื่องจากหลายคนที่ไม่เคยชินอาจมีปัญหา "การงงเส้น" ขึ้นได้ครับ เนื่องจากเส้นที่ขีดลงไปนั้นเริ่มเยอะ เริ่มตีกัน ยิ่งใครที่ขีดเส้นลงไปอย่างไม่เป็นระเบียบ ไม่มีขั้นตอนหรือpatternที่ดี ก็จะยิ่งเกิดอาการงงเส้นขึ้นได้โดยง่าย อาจทำให้ตัวงานสานเส้นที่เสร็จแล้วดูเลอะ แน่น ไม่สวยงามตามความตั้งใจได้ครับ
ก่อนอื่นเรามาเท้าความเดิมเกี่ยวกับในตอนที่แล้วกันสักเล็กน้อย
สานเส้น 1 ชั้น
- สานเส้น 1 ชั้น คือการสานเส้นไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยช่องไฟระหว่างเส้นแต่ละเส้นที่เท่ากัน
- เทคนิคการสานเส้น 1 ชั้น ลงบนพื้นที่กว้างๆ จะใช้วิธีการสานเส้นเป็นกลุ่มเล็กๆวางเรียงต่อๆกันจนเต็มพื้นที่ แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ วางกลุ่มก้อนการสานเส้นทุกก้อนไปในองศาเดียวกัน และการวางกลุ่มก้อนการสานเส้นในแต่ละก้อนไปคนละองศากัน
สานเส้น 2 ชั้น
- สานเส้น 2 ชั้น คือการสานเส้นชั้นที่สองทับลงบนการสานเส้นชั้นแรกลงไป โดยยังคงใช้ช่องไฟระหว่างเส้นที่มีระยะห่างเท่าๆกัน แต่ใช้องศาในการสานเส้นขัดทับต่างออกไปจากทิศทางของการสานเส้นชั้นแรก
- องศาของการสานเส้นชั้นที่ 2 จะมีผลต่อลักษณะงาน นั่นก็คือหากเรายิ่งใช้องศาขัดทับมากเท่าใด ก็จะยิ่งได้ลักษณะงานสานเส้นที่ดูแข็ง หยาบ และมีมีtextureมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
-เทคนิคการสานเส้น 2 ชั้น ลงบนพื้นที่กว้างๆ ยังคงใช้เทคนิคเดียวกับการสานเส้น 1 ชั้นทุกประการ
สาเหตุที่เราต้องทำการทบทวนการสานเส้น 1 - 2 ชั้นให้ดีเสียก่อน เพราะบทความนี้จะพูดถึงการสานเส้นในชั้นที่ 3 - 4 ที่ยังต้องใช้พื้นฐานความแม่นยำจากการสานเส้น 1 - 2 ชั้นเป็นอย่างมากครับ และก่อนที่จะไปยังเทคนิคการสานเส้นชั้นที่ 3 - 4 นั้น เรายังมีเทคนิคเพิ่มเติมมาฝากกันด้วยครับ
การFadeเส้น คือการไล่น้ำหนักให้แก่กลุ่มก้อนการสานเส้นที่เราทำการสานลงไปในพื้นที่ที่ต้องการ โดยมีการไล่น้ำหนักความเข้มของกลุ่มก้อนการสานเส้นจากน้ำหนักเข้มไปหาน้ำหนักอ่อนได้ (เปรียบเทียบก็เหมือนการไล่น้ำหนักเข้ม - อ่อน ของงานวาดแส้นแรเงาด้วยดินสอครับ)
วิธีง่ายๆสำหรับการFadeเส้นเลยก็คือ ในช่วงปลายกลุ่มก้อนการสานเส้นที่เราต้องการจะลงน้ำหนักการสานให้จางลง เราจะใช้วิธีการ "ลดความยาวเส้น" ในแต่ละกลุ่มก้อนให้สั้นลง รวมถึงใช้ช่องไฟ "ทั้งระหว่างเส้นและระหว่างก้อน" ให้มีความห่างมากกว่าเดิมเล็กน้อย เมื่อนำทั้งสองวิธีมารวมกันในจังหวะที่เราจะทำการไล่น้ำหนักแล้ว ก็จะได้งานการสานเส้นที่มีลักษณะFadeที่ดูมีน้ำหนักงานที่ฟุ้งและเบาลงได้ครับ และสามารถนำไปใช้กับงานการสานเส้นกี่ชั้นก็ได้เช่นกัน
หลังจากเราได้เทคนิคการFadeเส้นแล้ว จากนี้ไปเราจะลองเอามาใช้ร่วมกับตัวอย่างงานสานเส้นในบทความนี้ด้วยละกันครับ
สานเส้น 3 - 4 ชั้น
การสานเส้นสามชั้น จะเป็นการต่อยอดจากการสานเส้น 2 ชั้นอีกทีหนึ่ง หรือก็คือการใช้เส้นชั้นที่ 3 สานทับลงไปบน 2 ชั้นแรกนั่นเอง ซึ่งโดยหลักๆแล้วยังคงใช้เทคนิค วิธีการ รวมถึงทฤษฎีเรื่ององศาการใช้เส้นขัดเหมือนเดิมทุกประการ
แต่จากภาพตัวอย่างด้านบนซึ่งเป็นการใช้องศาการขัดเส้นน้อยๆ จะเห็นว่าช่องไฟบนพื้นที่งานก็มีน้อยลงไปด้วยเช่นกัน ทำให้ภาพดูอึดอัดแน่นตามากขึ้น ข้อควรแนะนำคือในพื้นที่ที่เราชี้เฉพาะเจาะจงเลยว่าจะทำการสานเส้นมากกว่า 2 ชั้นขึ้นไป ให้พยายามใช้เส้นขัดที่มีองศามากๆเข้าไว้ จะได้เห็นตารางช่องไฟที่กว้างขึ้น ทำให้งานดูสบายตาขึ้น ดั่งเช่นภาพตัวอย่างการสานเส้น 3 ชั้นด้านล่างนี้ครับ
จะเห็นได้ว่านอกจากจะยังคงมีช่องไฟระหว่างเส้นที่สานทับกันลงไปหลายๆชั้นที่ช่วยทำให้ดูสบายตาขึ้นแล้ว ยังช่วยให้งานดูมีระเบียบเรียบร้อยขึ้นอีกด้วยครับ
และตามด้วยการสานเส้น 4 ชั้นครับ ซึ่งยังคงใช้เทคนิคการสานเส้นเหมือน 1 - 3 ชั้นทุกประการ แต่จะมีเงื่อนไขเล็กๆน้อยๆเหมือนการสานเส้น 3 ชั้น ตรงที่หากใช้องศาในการขัดเส้นที่น้อยเกินไปก็จะทำให้งานดูแน่น ดูอึดอัดมากๆเช่นกัน เลยแนะนำให้ใช้การสานเส้นขัดมากๆ ตามภาพตัวอย่างข้างล่างนี้ครับ
แต่ข้อควรระวังสำหรับการสานเส้น 3 - 4 ชั้นนั้น คือการคอยดูว่าทิศทางที่เราจะสานลงไปในชั้นหลังๆควรจะเป็นทิศทางไหน องศาเท่าไรดี เนื่องจากหลายคนที่ไม่เคยชินอาจมีปัญหา "การงงเส้น" ขึ้นได้ครับ เนื่องจากเส้นที่ขีดลงไปนั้นเริ่มเยอะ เริ่มตีกัน ยิ่งใครที่ขีดเส้นลงไปอย่างไม่เป็นระเบียบ ไม่มีขั้นตอนหรือpatternที่ดี ก็จะยิ่งเกิดอาการงงเส้นขึ้นได้โดยง่าย อาจทำให้ตัวงานสานเส้นที่เสร็จแล้วดูเลอะ แน่น ไม่สวยงามตามความตั้งใจได้ครับ
....................................................................................
...........................................................
..........................................
.............................
.........
....
....
.........
.............................
..........................................
...........................................................
....................................................................................
ยังไม่จบครับ! ฮาา
ยังมีของแถมเพิ่มเติมให้อีกเล็กน้อย สำหรับเพื่อนๆที่ตามอ่านมาจนถึงตอนนี้อาจมีคำถามว่า เราสามารถนำเทคนิคการสานเส้นทั้งหมดที่ว่ามาดัดแปลงอย่างไรได้บ้าง คำตอบคือได้ครับ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของ "การใช้รูปร่างของเส้น" และ "การกำหนดทิศทางของเส้น" เป็นปัจจัยหลักที่สามารถทำให้เรามีอิสระในการสานเส้นมายิ่งขึ้นไปอีก
การใช้รูปร่างของเส้น
การใช้รูปร่างของเส้น คือการเปลี่ยนจากการสานด้วยเส้นตรงตามปกติที่เราได้นำเสนอมาตลอดในบทความทั้งสองตอนนี้ เป็นเส้นที่มีรูปร่างอื่น ซึ่งในที่นี้เราจะขอนำเสนอการใช้ "เส้นโค้ง" แทนที่การใช้เส้นตรงครับ
การใช้เส้นโค้ง เป็นเพียงการเปลี่ยนเส้นทุกเส้นที่เราสานลงไปในงานให้กลายเป็นเส้นที่โค้งขึ้นเล็กน้อย ส่วนวิธีหรือรูปแบบการสานอื่นๆยังคงใช้เหมือนเดิมเท่านั้นเอง ถามว่าการสานด้วยเส้นโค้งมีประโยชน์อย่างไร? จะทำให้ตัวงานเปลี่ยนไปยังไง? คำตอบคือเส้นโค้งจะเป็นเส้นที่ดูมีอิสระ มีความนุ่มนวลมากกว่าเส้นตรง เวลาที่สานเส้นออกมาโดยที่ไม่ว่าจะสานกี่ชั้นหรือใช้องศาของเส้นขัดกันมากแค่ไหน ก็จะยังคงให้ความรู้สึกนุ่มนวลตามากกว่าการสานด้วยเส้นตรงตามปกติ อีกทั้งการสานเส้นขัดกันด้วยเส้นโค้งนี้ จะทำให้ช่องไฟภายในของกานสานเส้นนั้นเกิดช่องที่กว้างขึ้น มีรูปร่างที่บิดและนุ่มนวลขึ้น ส่งผลให้การสานเล้น 3 - 4 ชั้นด้วยเส้นโค้งจะไม่ทำให้งานดูมืดทึบหรือแน่นตาจนเกินไปด้วยครับ
ตัวอย่างงานจริง ที่สานเส้นด้วยเส้นโค้ง
ในงานตัวอย่าง เราจะใช้เทคนิคการสานเส้นโค้งกับbackgroundด้านหลังที่ดูขะมุกขะมัว ผลก็คือเราจะได้ตัวงานที่รู้สึกว่ามันไม่เข้มหรือมืดทึบจนเกินไป (แม้ว่าเราจะสานเส้นทับกันเกิน 4 ชั้นขึ้นไปก็ตาม) อีกทั้งยังดูนุ่มนวลตา ให้ความรู้สึกมีการเคลื่อนไหว ไม่ทำให้งานแข็งกระด้างจนเกินไปด้วยครับ
ซึ่งหลังจากอ่านเกี่ยวกับการสานเส้นด้วยเส้นโค้งมาทั้งหมด เพื่อนๆหลายๆคนคงรู้สึกว่ามันช่างดีแสนดีกว่าการสานเส้นด้วยเส้นตรงปกติเป็นไหนๆ แต่อยากจะบอกว่าในความเป็นจริงแล้วเราไม่ควรสานเส้นด้วยเส้นโค้งกับงานทุกๆจุดมากจนเกินไป สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงเป็นสำคัญคือดูว่าพื้นที่ในบริเวณนั้นๆ การสานเส้นด้วยเส้นแบบไหนจึงจะเหมาะสมมากกว่า ดั่งเช่นการสานเส้นสิ่งก่อสร้างหรือวัตถุที่มีความแข็ง มีtextureที่ดูดิบหยาบ การสานเส้นด้วยเส้นโค้งก็อาจจะดูไม่ค่อยเหมาะเสียเท่าไรนัก เป็นต้น
หรือหากเพื่อนๆคนไหนสนใจตัวอย่างงานการ์ตูนที่ใช้การสานเส้นด้วยเส้นโค้งเยอะๆ ขอแนะนำเป็นการ์ตูนเรื่อง Berserk ของ อาจารย์ มิอุระ เคนทาโร่ ที่ใช้การสานเส้นค่อนข้างเยอะ และเป็นเส้นโค้งเสียส่วนใหญ่อีกด้วยครับ
การกำหนดทิศทางของเส้น
การกำหนดทิศทางของเส้น คือเทคนิคการต่อเส้น หรือต่อกลุ่มก้อนการสานเส้นให้เคลื่อนไหวไปในทิศทางหรือรูปร่างต่างๆ อธิบายแบบนี้อาจจะงง ไปดูภาพตัวอย่างกันดีกว่าครับ
ภาพนี้เราทำการกำหนดทิศทางของเส้นสานด้วยการใช้ดินสอไกด์ให้โค้งมารวมกันที่ตรงกลางภาพก่อน จากนั้นก็ค่อยๆสานตามทิศทางที่ไกด์ไว้ ก็จะได้ตามภาพครับ หรือถ้าเราสานเส้นชั้นที่ 2 ลงไป ก็จะได้ดังนี้
หรือการกำหนดทิศทางของการสานเส้น ให้เกิดรูปร่างต่างๆขึ้นมาได้ เช่น
หรือเพิ่มการสานเส้นชั้นที่ 2 เข้าไป เพื่อให้ลายเกิดมิติและระยะขึ้นมา
ซึ่งลวดลายการสานเส้นพวกนี้ เราอาจจะเคยเห็นเทคนิคภาพแบบนี้กับการ์ตูนยุคเก่าๆ การ์ตูนผีของญี่ปุ่น ที่นิยมใช้เทคนิคนี้ให้ภาพเกิดความขะมุกขะมัวทางบรรยากาศ เป็นต้น
ซึ่งข้อควรระวังของการสานเส้นประเภทนี้ คือการสานเส้นในชั้นที่ 2 หรือชั้นต่อๆไปครับ เนื่องจากทิศทางของเส้นในชั้นแรกนั้นจะไม่ตายตัว การสานชั้นที่ 2 ทับลงไปจึงต้องคอยดูให้้ดีอยู่ตลอดเวลาว่าทิศทางของเส้นชั้นที่ 1 ที่เราสานลงไปแล้วนั้นพริ้วไหลไปทางไหน ก่อนที่จะเลือกทิศทางการสานทับที่เหมาะสมค่อยๆขีดลงไปในชั้นที่ 2 ครับ
และนี่ก็คือเนื้อหาคร่าวๆ เกี่ยวกับเทคนิคการสานเส้นแบบต่างๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วยังคงมีเทคนิคอีกมากมายหลายรูปแบบที่ไม่ตายตัวนอกเหนือจากบทความของเราอีกเยอะแยะมากมายครับ ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดที่ว่ามาน้ีเราก็เคยใช้สอนหรือแนะนำคนที่เคยเรียนกับเรามาแล้วเช่นกัน
ตัวอย่างผลงานนักเรียนที่เคยเรียนเรื่องเทคนิคการสานเส้น (ด้วย G-pen) กับทางเรา
ที่นำตัวอย่างผลงานมาให้ได้ดูกัน ไม่ได้พยายามจะบอกว่าถ้าเรียนกับเราแล้วผลงานจะดีแต่อย่างใดครับ งานสานเส้นเป็นอีกหนึ่งประเภทงานที่ต้องอาศับความรู้ความเข้าใจ สมาธิ และประสบการณ์เป็นอย่างมากในการสร้างสรรค์ผลงานให้ได้ออกมาตามความต้องการของเรา และงานสานเส้นก็เป็นเพียงหนึ่งเทคนิคอันเป็นองค์ประกอบเล็กๆส่วนหนึ่งของงานศิลปะ งานการ์ตูน ดั่งเช่นผลงานด้านบนที่แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของประเภทงานได้ ไม่ว่าจะเป็นงานวาดเส้นแรเงาที่สามารถเอาไปประยุกต์ใช้กับงานดินสอก็ดี ตลอดจนกระทั่งนำมาใช้เป็นเทคนิคสไตล์ภาพสำหรับงานการ์ตูนก็ดี ก็ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัวและประสบการณ์การฝึกฝนของพวกเราเป็นหลักครับ
....................................................................................
...........................................................
..........................................
.............................
.........
....
....
.........
.............................
..........................................
...........................................................
....................................................................................
Tip!
สำหรับคนที่อยากฝึกฝนการสานเส้น แต่ไม่รู้ว่าควรจะเริ่มฝึกอะไรบ้าง ไต่stepอย่างไรบ้าง หรือไม่สามารถมาเรียนกับทาง Manga Course Party ของเราได้ (แล้วบทความของเราก็ไม่ใช่บทความเพื่อการขายคอร์สเรียนด้วยครับ ฮา) ....เรามีขั้นตอนหรือ step ในการฝึกมาฝากกัน
1. ฝึกขีดเส้นตรงครับ เริ่มจากความยาว 3 cm. โดยการตีเส้นบรรทัดกว้าง 3 cm.ขึ้นมา แล้วก็ขีดเส้นตรงเต็มบรรทัด ให้ทุกเส้นตรงที่สุด มีช่องไฟที่ห่างเท่ากันที่สุด (ช่องไฟห่างกันประมาณ 1 mm.) หากใช้ g-penในการฝึก ต้องพยายามให้ทุกเส้นมีน้ำหนักเส้นที่เท่ากันด้วยครับ
2. ฝึกขีดเส้นเป็นกลุ่มเล็กๆ ช่องไฟน้อยๆ โดยฝึกขีดเป็นกลุ่มในทิศทางต่างๆ เพื่อสร้างความเคยชินเวลาใช้งานจริงให้ได้มากที่สุดครับ
3. ฝึกสานเส้นในชั้นต่างๆ ตั้งแต่ 1 - 4 ชั้น (ตามบทความทั้งหมดที่เราได้แนะนำไป) เน้นสานเป็นกลุ่มเล็กก่อน โดยที่อาจจะลองฝึกการใช้เส้นโค้งไปด้วยก็ได้ครับ
4. ฝึกต่อก้อน คือการฝึกสานเส้น1ชั้นเป็นกลุ่มเล็กๆ เรียงต่อกันบนพื้นที่ที่กำหนด ไม่ว่าจะเป็นการให้ทุกกลุ่มไปทางเดียวกัน หรือให้ทุกกลุ่มไปคนละทางกัน ตามภาพตัวอย่างครับ
5. ฝึกการ Fade วิธีการทำก็สามารถย้อนกลับไปอ่านตามบทความข้างต้นได้ครับ
6. ฝึกไล่น้ำหนักการสานเส้น การฝึกนี้เบื้องต้นอาจจะแบ่งเป็นช่องใหญ่ๆ แต่ละช่องก็ทำการสานเส้นลงไปให้เต็มที่ละชั้น ทีละstepตามภาพก่อน ซึ่งพอชำนาญแล้ว เราอาจเพิ่มการฝึกเป็นการไล่ fade ให้แต่ละน้ำหนักกลืนเข้าหากันได้ครับ
สุดท้ายนี้ เพื่อนๆคนไหนที่มีข้อสงสัยอะไรเกี่ยวกับเทคนิคการสานเส้น ก็สามารถสอบถามกันเข้ามาได้นะครับ ไม่ว่าจะเป็นทางเว็บไซท์แห่งนี้้หรือทางแฟนเพจ facebook ของเรา หรือใครที่คิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ ก็สามารถช่วยกันแชร์ต่อๆไปได้ตามสะดวกครับ
แล้วเจอกันในบทความหน้า ขอให้สนุกกับการสานเส้นครับ.